การตั้งค่า Permission หรือ การ CHMOD ไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ ของเว็บไซต์
ที่ใช้บริการ พื้นที่ฝากไฟล์ หรือ โฮสติ้ง บนระบบปฎิบัติการ Linux นั้น จะมีวิธีการ ป้องกัน การเข้าถึง การอ่าน เขียนไฟล์ และโฟลเดอร์ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า การตั้งค่า Permission หรือเรียกอีกอย่างว่า CHMOD โดยมีการกำหนด ค่าและ กลุ่ม ผู้ใช้ที่แตกต่างกัน
กล่าว คือ การตั้งค่า Permission เป็นการตั้งค่า สิทธิความสามารถ ของผู้ใช้ ในการอ่าน เขียน และความสามารถในการเข้าถึงไฟล์ และ โฟลเดอร์ใดๆ ของเว็บไซต์นั้นเอง
วิธีการตั้งค่า
ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์ สามารถตั้งค่า Permission ได้จากโปรแกรม อับโหลดไฟล์ ต่างๆ อธิเช่น CuteFTP, FileZilla , WS FTP และอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้มักจะมีฟังก์ชั่น รองรับการทำงานในส่วนนี้อยู่แล้ว
และ ยังสามารถตั้งค่า Permission ผ่านระบบจัดการไฟล์ ผ่านเว็บ หรือ File Manager ของระบบจัดการเว็บไซต์ (Web Control Panel) ได้อีกด้วย
โดยมีข้อกำหนดต่างๆ แบ่งเป็นตัวเลข 3 หลัก เช่น 644, 755, 777 ซึ่งมีความหมายดังนี้
Number Binary Representation Permissions
0 000 --- No Permission
1 001 --x Execute
2 010 -w- Write
3 011 -wx Write, Execute
4 100 r-- Read
5 101 r-x Read, Execute
6 110 rw- Read, Write
7 111 rwx Read, Write. Execute
ความหมายของตัวเลข Permission หรือ change mode (CHMOD)
ตัวเลขตัวแรก คือ เลขค่า Permission ของ Owner (ตัวคุณเอง)
ตัวเลขตัวที่สอง คือ เลขค่า Permission ของ Group (บุคคลอื่นๆที่คุณอนุญาตให้ใช้พื้นที่)
ตัวเลขตัวที่สาม คือ เลขค่า Permission ของ Others (บุคคลทั่วไป)
โดยหมายเลขแต่ละหลักจะมี (0 1 2 3) 4 5 6 7 ซึ่งความหมาย ดังนี้
4 หมายถึง ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน เพียงอย่างเดียว ไม่มีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น
6 หมายถึง ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ในการเขียนไฟล์นั้น เพียงอย่างเดียว แต่ไม่มีสิทธิ์อ่านไฟล์นั้น (4+2)
7 หมายถึง ไฟล์นั้น มีสิทธิ์ในการสั่งให้ไฟล์นั้นทำงาน และมีสิทธิ์ เขียน หรือ อ่าน ไฟล์นั้น (4+2+1)
เพื่อความเข้าใจง่ายขึ้น ผมจะยกตัวอย่างอธิบาย ตัวเลขการตั้งค่าง่ายๆ ที่เราเห็นกันบ่อยๆ คือ
644 หมายถึง เจ้าของอ่านและเขียนได้ แต่คนอื่นทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว
755 หมายถึง เจ้าของอ่าน เขียน และประมวลผลได้ แต่คนอื่นสามารถอ่านและทำการประมวลผลได้เท่านั้น
777 หมายถึง ทุกคนสามารถ อ่าน เขียน และประมวลผลได้