กว่าจะมาเป็นเว็บไซต์ ที่เห็นๆ กันอยู่จำเป็นต้องมีอะไรบ้าง ?
เวลาเราเรียกใช้งานเว็บไซต์ สิ่งที่เราจะเห็นอยู่ในหน้าเว็บไซต์ นั้นๆ จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วนได้แก่
- Domain Name
- Web Site
- Hosting
โดยในส่วนประกอบที่กล่าวมาจะมีส่วนต่างๆ ที่สำคัญที่เราควรรู้โดยเราจะมาเริ่มกันที่
Domain Name
Domain Name คือ ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ Domain Name System เพื่อระบุถึงหมายเลข IP Address ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียน ระบุให้กับผู้ใช้งาน เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน โดยในการจดทะเบียนโดเมน จะประกอบไปด้วย ชื่อโดเมน และ นามสกุลโดเมน
ยกตัวอย่าง netway.co.th โดยจะเห็น netway เป็นชื่อโดเมน และมี นามสกุลโดเมน เป็น .co.th ซึ่งในแต่ล่ะนามสกุลจะมีความหมายที่แตกต่างกัน เช่น
.co.th | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์ของบริษัท การจดทะเบียนชื่อโดเมน ต้องเป็นชื่อเดียวกับชื่อหรือ ชื่อย่อของบริษัท ซึ่งจดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ |
.in.th | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์ของบุคคลธรรมดาชื่อโดเมนจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ |
.com | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์ใช้สำหรับห้างร้าน กิจการ บริษัท ทั่วไป |
.jp | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์สำหรับโดเมนที่มาจากประเทศ ญึ่ปุ่น |
.ac.th | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ชื่อโดเมนต้องเป็นชื่อหรือชื่อย่อ ของสถาบันการศึกษา |
.org | แสดงความหมายเป็นเว็บไซต์ใช้สำหรับหน่วยงาน หรือ องค์กรไม่แสวงผลกำไร |
โดย domain name แต่ล่ะชื่อที่จดมานั้น เราจะสามารถเช็คข้อมูลได้จาก WHOIS ซึ่ง WHOIS คือฐานข้อมูลที่ใช้เพื่อค้นหารายชื่อผู้เป็นเจ้าของโดเมนจากทั่วโลก ฐานข้อมูล WHOIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจเลือกจองโดเมนและสั่งซื้อโดเมน เพราะ WHOIS จะเก็บรายละเอียดทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชื่อเจ้าของ หมายเลขติดต่อ อีเมล รายชื่อผู้ขอจดทะเบียน Registrant รวมทั้งผู้รับจดโดเมนหรือ Registrar ด้วย ซึ่งบางที อาจจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีอาศัยข้อมูลในส่วนนี้เพื่อหาทางโจมตีเว็บไซต์ของเราได้
จึงมีการจดโดเมน แบบ Privacy Domain ขึ้นมาซึ่งก็คือ การปิดบังข้อมูลส่วนตัวที่ใช้ในการจดทะเบียนโดเมนเนม หรือก็คือปกปิดข้อมูลผู้เป็นเจ้าของโดเมน เพื่อป้องกันในส่วนนี้ แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ว่า ในกรณีที่เราไม่สามารถเข้าระบบจัดการโดเมน และติดต่อผู้ให้บริการไม่ได้ เราไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลในส่วนนี้ได้เลย หรือถ้าเกิดมีคนสนใจโดเมนของเราอยากจะซื้อโดเมนของเรา ก็อาจทำให้เราพลาดโอกาสนี้ไปได้
เมื่อเราทำการจดโดเมนเสร็จแล้วจะต้องมีการจัดการ ระบบการจัดการโดเมน หรือ Domain Name System (DNS) โดยจะมีการตั้งค่า Name Server (NS) เพื่อเป็นตัวกำหนดว่า โดเมนที่เราใช้งานอยู่ โดเมนนั้นอยู่ที่ไหน IP Address อะไร
Web Site
Website คือสื่อนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคือการรวบรวม หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะทางที่เรียกว่า Web Browser และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ เช่น HTML, ASP, PHP, JAVA ฯลฯ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ภายใน จะเป็นภาพ ข้อความ เสียง ไฟล์วิดีโอต่าง ๆ
โดยในที่นี้ เราจะมาพูดถึงเรื่องของวิธีการสร้างเว็บไซต์ ในปัจจุบันกันว่ามีวิธีไหนกันบ้าง
1. Code Programing คือ จะต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเรื่อง ภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆ ในระดับที่สูงพอสมควร แล้วเอามาพัฒนาออกแบบ เพื่อสร้างเว็บไซต์ ถึงจะสามารถสร้างเว็บไซต์ออกมาได้
2. Content Management System (CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา (Development) และบริหาร (Management) เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลเว็บไซต์
โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์ (Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (เช่น MySQL)
3. Website Builder เป็นระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานโดยที่เพียงเข้าไปสมัครใช้งานกับผู้ให้บริการ Website Builder ก็สามารถ ทำการสร้างเว็บไซต์ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น netway.site
4. จ้างคนอื่นทำ อันนี้ง่ายสุดเพียงแค่มีเงินทุนก็สามารถให้คนที่มีความรู้มาพัฒนาให้เราได้
Hosting
Hosting คือ รูปแบบการให้บริการอย่างหนึ่ง สำหรับเป็นพื้นที่ในการนำเสนอข้อมูลออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อต้องการเผยแพร่ข้อมูลแบบออนไลน์ ให้ผู้อื่นสามารถเข้ามาเรียกดูข้อมูล ดาวน์โหลดข้อมูล หรืออื่นๆ จะต้องมีการสร้างเว็บไซด์ขึ้นมา แล้วจึงนำเว็บไซด์ที่สร้างไว้นั้น อัพโหลดขึ้นมาบนระบบที่ให้บริการฝากพื้นที่ หรือเรียกว่า ระบบโฮสติ้ง โดยที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะจัดเก็บข้อมูลเว็บไซต์ ฐานข้อมูล อีเมล ฯลฯ ไว้ในเครื่อง server ซึ่งภายในเครื่อง server จะมี service ต่างๆ ไว้คอยให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น web server, ftp server, mail server ฯลฯ
ในที่นี้เราจะมาดูว่าในการเลือกใช้งาน Hosting แต่ล่ะที่เราควรคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. Server เซิฟเวอร์ต้องมีประสิทธิภาพ เสถียร ไม่ล่ม ต้องมี Uptime เกิน 99.9% มีการใช้ทรัพยากร หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ
2. Service ผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้ง ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ในด้าน เว็บโฮสติ้ง โดยเฉพาะ อีกทั้งต้องคอยดูแลเซิฟเวอร์และคอยบริการแก้ไขปัญหาของผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ไม่ปล่อยให้ปัญหาค้างคาจนธุรกิจของลูกค้าเสียหาย
3. Location เซิฟเวอร์ต้องตั้งอยู่ใน Data Center ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตทั่วโลกตลอด 24 ชม. ด้วยความเร็วสูงสุด พร้อมต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมความปลอดภัยในด้านต่างๆ และเราควรคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าของเราด้วย ว่าอยู่ประเทศไหน
_____________________________________________________________________________________________
Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย ทั้ง Microsoft เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือhttp://bit.ly/line-netway
Facebook : m.me/netway.offcial
Tel : 02-9122558
Email : support@netway.co.th
Web Chat : https://netway.co.th/
#ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #Website #Domain