"ดำเนินธุรกิจแบบ New Normal ด้วย Cloud Solution"
Table of Content
- The New Normal is?
- Digital Transformation
- Traditional or On-premises Infrastructure
- Cloud Technology
- Cloud is the New Normal
- Cloud Solution
The New Normal is?
New Normal คือความปกติในรูปแบบใหม่ เป็นคำที่กล่าวถึงพฤติกรรมของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมาจากวัฒนธรรม การดำเนินชีวิต หรือหลักปฏิบัติใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์สำคัญ เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ตัวอย่างที่ชัดเจน คือการเกิดขึ้นมาของอินเทอร์เน็ตและ Social Media ส่งผลให้รูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็น
- การติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นแม้จะอยู่ไกลกันคนละที่หรือคนละภูมิภาค
- การค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้จากอินเทอร์เน็ตแทนที่การค้นหาจากหนังสือ ห้องสมุดหรือใช้ Google Map ค้นหาสถานที่แทนแผนที่แบบกระดาษ
- การติดตามข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ แทนการอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร
- การซื้อสินค้าออนไลน์ แทนการซื้อของตามหน้าร้าน เป็นต้น
และปัจจุบันที่เรากำลังประสบปัญหาอยู่ก็คือการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ธุรกิจ สังคม ทำให้การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่และปรับตัวใหม่เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนชีวิตและธุรกิจของเราสามารถดำเนินต่อไปได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปรับตัวนี้เองที่เรียกว่าเป็น “New Normal” ยกตัวอย่างพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น
ด้านการบริโภค
ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร เริ่มเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์โดยการขายอาหารผ่านแพลตฟอร์มขายอาหารออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Food Panda, Line Man เป็นต้น
ด้านการศึกษา
สถานศึกษาเริ่มมีการศึกษาและนำระบบการเรียนการสอนออนไลน์มาใช้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Platform Online ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Team , Google Classroom เป็นต้น
ด้านธุรกิจ
ธุรกิจร้านขายของที่มีหน้าร้าน มีการปรับตัวและเปลี่ยนรูปแบบการขายผ่านออนไลน์มากขึ้น โดยผ่านแพลตฟอร์มผู้ให้บริการเช่น Lazada, Shopee หรือการพัฒนาเว็บแอพลิเคชันของตนเอง เป็นต้น บริษัทหรือองค์กรย้ายข้อมูลการจัดเก็บไฟล์ขึ้นไปไว้บน Cloud หรือ Sharing Platform ต่างๆ เพื่อความสะดวกสบายในการแชร์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อการแก้ไข รีวิวเอกสารออนไลน์ร่วมกันเป็นต้น บางองค์กรอาจเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นการ Work From Home และอาจใช้บริการ VDI หรือ Virtual Desktop Infrastructure ผ่านผู้ให้บริการ เพื่อจัดสรรคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคคลให้กับพนักงานและความสะดวกสบายในการจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงานเป็นต้น รวมไปถึงการใช้แพลตฟอร์มการประชุมออนไลน เช่น Zoom, WebEx, Microsoft Teams,
Google Meet แทนที่การประชุมแบบเดิมเป็นต้น
ตัวอย่างบริษัทระดับโลกที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ
Google, Facbook ล่าสุดออกมาประกาศให้พนักงานทำงานที่บ้านได้จนถึงสิ้นปีเป็นอย่างน้อย
Twitter ให้พนักงานสามารถทำงานที่บ้านของตนเองได้จนตลอดชีวิตการทำงาน Netway เองก็มี
นโยบายให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้านได้เช่นเดียวกัน และมีการจัดการเทรนนิ่งออนไลน์
สัมมนาออนไลน์ แทนการสัมมนาที่ต้องมาเจอหน้ากันหรือมาที่ออฟฟิต เป็นต้น นักวิชาการคาดว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไม่หายไป แม้จะสถานการณ์ COVID-19 จะดีขึ้น เนื่องจากคนในสังคมเริ่มเรียนรู้เทคโนโลยี และมองเห็นว่าสามารถใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้จริง
ความปกติแบบใหม่ หรือ New Normal ที่จะเกิดขึ้น 3 ประการ
1. Remote Working เราจะเห็นการทำงานที่เป็นลักษณะของ Remote Working มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Work From Home หรือ Learn From Home จะถูกนำมาปรับใช้มากขึ้น ทำให้การทำงานหรือแม้แต่การเรียนการสอน จะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่อีกต่อไป
2. Cloud Platforms เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของการจัดเก็บข้อมูลจากเดิมที่ทำบน
On-Premises เราจะเห็นว่าหลายองค์กรเริ่มมีการปรับรูปแบบการเก็บข้อมูลขึ้นบน Cloud มากขึ้น ธุรกรรมต่างๆ จะถูกนำมาปรับใช้อยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรืออยู่บน Cloud มากขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้
3.Health and Lifestyle วิถีชีวิตของคนในสังคมจะเปลี่ยนไป ทุกคนจะให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัย การใส่ใจสุขภาพ ดูแลตัวเองมากขึ้น บางองค์กรอาจมีการปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานโดยการเพิ่มฉากกั้น หรืออาจมีการใช้อุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Smartwatch จัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพของแต่ละคน และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อการดูแลตนเองและพนักงานภายในองค์กรเองเป็นต้น เราจะเห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัย Technology แทบทั้งสิ้น การวางแผนปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อเข้าสู่
Digital Transformation
จึงจำเป็นจะต้องถูกนำมาพิจารณาเป็นเรื่องด่วน เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและรองรับกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้นอย่างเช่น COVID-19 ในปัจจุบัน
การมาของ COVID-19 จึงเป็นตัวเร่งให้เกิด Digital Transformation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Digital Transformation
คือการเปลี่ยนแปลงแนวคิด วัฒนธรรมองค์กร โดยการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ตั้งแต่การวางรากฐาน ไปจนถึงการส่งมอบคุณค่าบริการไปสู่ผู้บริโภค จากการสำรวจมีองค์กรเพียง 21%
เท่านั้นที่พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดครั้งนี้คาดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้องค์กรอีก 79% ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ Digital Transformation อย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้น
การจะเข้าสู่ Digital Transformation ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้คือ
- CloudหรือCloud Computing ระบบหรือบริการสำหรับการประมวลผล เพื่อรองรับการให้บริการผ่านเครือข่าย Internet ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้อย่างอิสระ มีความยืดหยุ่น และคิดค่าใช้บริการตามการใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของข้อมูลได้
- Analytics ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นข้อมูลที่มีค่ามหาศาลการนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำสามารถพัฒนาบริการเพื่อตอบสนองความต้องการได้ตามเป้าหมาย
- Mobile เข้าสู่ยุคของ5G อุปกรณ์พกพา ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet ไปจนถึง Smart Watch ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรมทางการเงิน และความบันเทิงต่างๆ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรได้
- Social Media เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับสร้างการรับรู้บริการ การติดต่อสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ
Traditional หรือ On-Premises Infrastructure
แต่เดิมก่อนเข้าสู่ยุคของ Digital Transformation หรือ Cloud การเก็บข้อมูลในรูปขององค์กรจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของ On-Premises และบริหารจัดการอยู่ภายใต้ Datacenter ของตนเอง การจัดการในรูปแบบนี้มีข้อจำกัดมากมาย จากรูปเราจะเห็นว่า On-Premises สร้างภาระและงานให้กับเราเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการดูแล ติดตั้ง ไล่ตั้งแต่ Network, Storage, Server ไปจนถึงระดับ Application พนักงาน 1 คนหรือไม่กี่คนอาจไม่สามารถดูแลระบบทั้งหมดได้อย่างแน่นอน ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ Cloud ในแบบต่างๆ แล้วจะเห็นว่า Cloud ช่วยลดภาระงานของเราได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นหากใช้บริการ Infrastructure as a Service เราก็มีหน้าที่ Manage
เพียง Application, Data, Runtime, Middleware เท่านั้น Platform as a Service เราก็มีหน้าที่ Manage แค่ Application และ Data Software as a Service เราแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ผู้ให้บริการ Manage ให้ทั้งหมดเลย ยกเว้นข้อมูลซึ่งเราอาจต้องเข้าไปดูแลเองด้วย
นอกจากนี้ On-Premises ยังมีข้อจำกัดอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น
- ใช้เงินลงทุนสูง
- ใช้งานทรัพยากรไม่เต็มประสิทธิภาพ
- ไม่มีความยืดหยุ่น
- บำรุงรักษายาก
- สิ้นเปลืองทรัพยากรคนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- ความปลอดภัย
- ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันอื่นๆ
ยังไม่รวมถึงการย้ายระบบ การ Migrate หรือการทำ DR อีกในอนาคตอีก “Cloud Technology จึงจะเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้” จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้หลายองค์กรต้องปรับตัวเพื่อเข้าหาเทคโนโลยีมากขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ Cloud Technology หรือ Cloud Computing นอกจาก Cloud จะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีแล้ว Cloud ยังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในทุกกิจกรรมในอนาคต มาดูกันว่า Cloud Technology
หรือ Cloud Computing คืออะไร
Cloud Computing หรือ Cloud Technology
อระบบหรือบริการสำหรับการประมวลผล เพื่อรองรับการให้บริการตามความต้องการของผู้ใช้ ผ่านเครือข่าย Internet ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Network, Database, Application
เป็นต้น โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงระบบ ความปลอดภัยและการจัดการ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ
- Infrastructure as a Serviceเป็นรูปแบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน การประมวณผล, Storage และ Network เป็นต้น ตัวอย่างผู้ให้บริการที่เรารู้จักเช่น Google Cloud Compute, Microsoft Azure, Amazon Web Service หรือ AWS รวมถึง Netway เราเองก็ให้บริการในรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน
- Platform as a serviceเป็นรูปแบบการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับนักพัฒนาในการพัฒนาโปรแกรม เช่น บริการ Google App Engine ต่างๆ, Azure DB และ Amazon RDS เป็นต้น
- Software as a serviceเป็นรูปแบบการให้บริการใช้ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถใช้บริการได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ ผ่านผู้ให้บริการ เช่น Google Docutment, Office365, Gmail เป็นต้น
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละองค์กรว่าเหมาะสมในด้านไหน ซึ่งก็ต้องพิจารณาในรายละเอียดด้านอื่นๆ ต่อไป
Cloud Technology ให้อะไรเราบ้าง
- Cost Savings ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและการลงทุน เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องลงทุนเองทั้งหมด เพียงใช้งานผ่านผู้ให้บริการ สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ตามปริมาณที่ต้องการใช้งานจริง และจ่ายเท่าที่ใช้จริงเท่านั้น Cloud ยังช่วยลดค่าดูแลรักษา ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ค่าไฟฟ้า ค่า Internet เป็นต้น
- Security จากการทดสอบด้านความปลอดภัยจากรายงานของGartner พบว่า Cloud มีความปลอดภัยกว่าระบบ Data Center แบบ On-premises ถึง 60% เนื่องจากมีเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ Update ตลอดเวลา
- Flexibility มีความยืดหยุ่น สามารถเพิ่ม ลด ทรัพยากรได้ทันที และตลอดเวลา
- MobilityCloud ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที ทุกเวลา ตราบใดที่เราสามารถเชื่อมต่อผ่าน Internet ทั้งยังสามารถรองรับการเชื่อมต่อได้จากหลากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Smart Phone, Tablet, PC เป็นต้น
- MonitoringCloud มีระบบ Monitor อัตโนมัติที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและเป็นแบบ Proactive คือสามารถรับรู้ปัญหาได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ทำให้เราสามารถแก้ปัญหานั้นได้ทันทีี
- Disaster RecoveryCloud มีความสามารถในการ Disaster Recovery ที่ดีหรือสามารถรองรับการกู้คืนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัยพิบัติทางธรรชาติ การชุมนุม ไฟฟ้าดับ เป็นต้น
การมาของ Cloud หรือ On-demand IT ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม IT เป็นอย่างมาก เพราะเมื่อก่อนการเข้าถึง Technology หรือการติดตั้ง Software ต่างๆ จำเป็นต้องมีการลงทุนด้าน Hardware หรือ Infrastructure เสียก่อน ส่งผลให้บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถลงทุนกับระบบ IT ขนาดใหญ่ได้มากนัก เพราะการลงทุนดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนสูง ไม่ใช่แค่การวางระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Software บุคคลากร แผนการ MA และค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆอีกมากมายด้วย ทีนี้มาดูกันว่าทำไม Cloud จึงมีสำคัญและเป็น New Normal ในอนาคต
Cloud is the New Normal
- Cloud เอาชนะข้อจำกัดหรือวิธีการแบบดังเดิม หรือ Traditional Datacenter ได้ ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อก่อนหน้า ทำให้บริษัทขนาดเล็กมีโอกาสเข้าถึง Technology มากขึ้น ทำให้มีอำนาจในการแข่งขันมากขึ้น
- Cloud จะเข้ามาช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล โครงสร้างพื้นฐาน ปลอดภัยและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถจ่ายได้เฉพาะที่ต้องการใช้เท่านั้น และสามารถเพิ่มลดขนาดทรัพยากรได้ทันทีที่ต้องการ
- การนำ Cloud มาใช้ยังช่วยลดการบริหารจัดการ ความจำเป็นในการลงทุนในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคคลากร ค่า Internet ค่าไฟ ค่า MA เป็นต้น ทั้งยังเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุน
- Cloud ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงบริการได้จากทุกที ทุกเวลา และสามารถรองรับหลายอุปกรณ์ ทำให้เราสามารถทำงานได้จากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้
- Cloud ช่วยให้เราเข้าถึง Technology และ Social Media มากขึ้น หลายองค์กรต่างก็พัฒนาและ Transform ระบบของตนเองขึ้นไปบน Cloud ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น เราสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้และพัฒนาระบบบริการของเราเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้อย่างมากมาย
มีข้อมูลตัวเลขสถิติผู้ใช้งาน Social Media ทั่วโลกในปัจจุบัน Update เมื่อเดือนมกราคม 2020 ที่ผ่านมา มีรายงานว่าเกือบ 60% ของประชากรโลกสามารถใช้งาน Internet ได้ โดยมีผู้ใช้ Social Media ทั่วโลก 3.8 พันล้านคน และจนถึงมกราคม 2020 ที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 49%
เติบโต 9.2% ต่อปีในจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมด มีจำนวนผู้ใช้ ที่เข้า Social Media
ผ่าน Smartphone 3.75 พันล้านคนหรือคิดเป็น 99% เปอร์เซ็นต์ของจำนวนของผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั้งหมด และมีงานวิจัยพบว่า 89% ซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ตนเองติดตามบน Social Media
รูปภาพจาก https://hootsuite.com/
และนี่คือ Top Social Media ที่นิยมมากที่สุด
จะเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้จะนำมาซึ่งมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างมหาศาล หากเรารู้จักใช้ Cloud Technology และ Social Media ให้เกิดประโยชน์
มาต่อกันที่หัวข้อ Cloud Solution หัวข้อนี้เราจะแนะนำรูปแบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจสำหรับใครที่กำลังมองหาหรือกำลังวางแผนเพื่อย้ายระบบขึ้นสู่ Cloud อยู่
Cloud Solution
รูปแบบบริการสำหรับการประยุกต์ใช้ Cloud Computing หรือ Cloud Technology เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการและตอบสนองการทำงานในรูปแบบของ New Normal อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ประกอบไปด้วย 3 บริการหลักๆ
- Cloud Server
- Cloud Storage หรือ Cloud File Sharing
- Cloud Manage Server Services
Cloud Server
โครงสร้างพื้นฐานสำหรับให้บริการในลักษณะของ IaaS หรือ Infrastructure as a Service ไม่ว่าจะเป็น Compute, Storage, Network รองรับการให้บริการ Web Server, Mail Server, File Server, Backup Server และ Application Server เป็นต้น
ประกอบด้วย
- Shared Hosting
- Cloud VPS
- Dedicated Server
Shared Hosting
บริการเช่าใช้พื้นที่สำหรับบริการ Website, Email, Application เป็นต้น ภายใต้ทรัพยากรของเครื่อง Server ที่ใช้ร่วมกัน เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก SME ผู้เริ่มต้นและใช้งานทั่วไป
ข้อดี
- ราคาถูก
- เริ่มใช้งานได้เร็ว
- ฟรี Manage
ข้อเสีย
- แชร์ทรัพยากรร่วมกับผู้ใช้รายอื่น
- Customize ยาก เช่นต้องการปรับแต่ง Server เพื่อเพิ่มความเร็ว, ต้องการติดตั้ง Software อื่นๆ เป็นต้น
Dedicated Server
Physical Server ที่รองรับการให้บริการบนระบบเครือข่าย เป็นรูปแบบบริการสำหรับเช่าใช้ Server โดยสามารถใช้งาน Resource ทั้งหมดของเครื่องไม่ Shared Resource กับเครื่องอื่น สามารถปรับแต่ง Resource ได้เองโดยอิสระ ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Disk รวมถึง Network เหมาะกับองค์กรที่มีการใช้งาน Workload สูงๆ ต้องการ Spec Server สูง รวมทั้งยังสามารถ Customize ในระดับ Physical ได้
ข้อดี
- ไม่แชร์ Resource ร่วมกับใคร ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลว่าผู้ใช้คนอื่นจะทำเกิดปัญหา Resource ไม่เพียงพอ
- ยืดหยุ่น Customize ได้ ทั้งรองรับการทำงานร่วมกับ Third Party ต่างๆได้ง่าย เช่น Backup, Firewall
- ปลอดภัย มั่นใจได้ว่ามีเพียงเราเท่านั้นที่สามารถใช้งานเครื่อง โดยไม่แชร์ร่วกับใคร
- รองรับ Traffic ปริมาณสูง และรองรับ Dedicated Bandwidth หากต้องการความเสถียรและความเร็วในการรับส่งข้อมูลปริมาณสูงๆ
ข้อเสีย
- ราคาเริ่มต้นจะแพงกว่าบริการอื่นๆ
- ความยากในการ MA และ Migrate ระบบ (ปัจจุบันมี Tools P2V เช่น VMware Converter Standalone และ Disk2VHD ของ Microsoft Azure)
Cloud VPS
บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือน ใช้เทคโนโลยี Server Virtualization แบ่งการใช้งาน Resource ออกจากกันอย่างชัดเจน หรือพูดง่ายๆ คือ การจำลองสภาพแวดล้อมของ Server โดยแบ่ง Physical Server 1 ตัว ออกเป็น Virtual Machin (VM) ย่อยหลายๆ เครื่อง ภายใต้ Cluster เดียวกัน เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้สามารถใช้
Server ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ
มีความสามารถหลักๆ คือ
- vMotion หรือ Live Migration คือการ Migrate จากเครื่องหนึ่งไปเครื่องหนึ่ง โดยไม่มี Downtime ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการ MA, Upgrade เครื่อง Server หรือ Hypervisor นั้นๆ
- High Availability หรือความพร้อมใช้งานตลอดเวลา เป็น Feature ที่รองรับการทำ Failover ไม่ว่าเครื่อง Server หรือ Hypervisor เครื่องใดมีปัญหาหรือดับไป ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานของเรา เนื่องจาก VM จะทำการย้ายไปที่เครื่องอื่นโดยอัตโนมัติ
- Hot Add การเพิ่ม CPU หรือ RAM ให้กับ Virtual Machine โดยที่ไม่ต้องหยุดการทำงานของ Virtual Machine
- vSphere Fault Tolerance (FT) คือความสามารถในการสร้าง VM ขึ้นมาอีกตัวนึง แต่ต่าง Physical Server กัน เพื่อให้ VM ทำงานไปพร้อมกันในลัษณะของ Active-Active เพื่อป้องกันกรณี Physical Server ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย Virtual Machine อีกตัวจะพร้อมให้บริการได้โดยอัตโนมัติทันที
- Replication ความสามารถในการทำ Replicate ข้อมูล จาก Datacenter หนึ่งไปยังอีก Datacenter หนึ่ง หรือเรียกว่าการทำ DR Site นั่นเอง
การใช้งานในลักษณะนี้เหมาะกับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลมากๆ และต้องการระบบที่เสถียรพร้อมออนไลน์ตลอดเวลา
Cloud File Sharing
บริการที่อยู่ภายใต้ซอร์ฟแวร์สำหรับสร้าง Cloud Storage หรือ Cloud File Storage มีความสามารถในการจัดเก็บไฟล์ แบ่งปันไฟล์ การสร้างและจำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน
มีความสามารถหลักๆ ดังนี้
- การซิงค์ไฟล์ แชร์ไฟล์กับ User ภายในหรือภายนอกองค์กรได้
- สามารถสร้างและจำกัดสิทธิ์ผู้ใช้ในการเข้าถึงไฟล์
- รองรับการสร้างและแก้ไขเอกสารออนไลน์พร้อมกันได้ รวมทั้งสามารถป้องกันไฟล์โดยการแทรกลายน้ำได้
- รองรับการอ่าน Media File หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น .mp3, .mp4 เป็นต้น
- สามารถจัดการ File Workflow หรือกำหนดให้ไฟล์ที่สร้างหรือ Upload ขึ้นไปใหม่ ทำงานโดยอัตโนมัติตามที่เรากำหนด
- Project Management บริการจัดการ Project โดยการจัดลำดับงาน วางแผนงาน ให้เป็นไปตาม Flow ที่กำหนด สามารถกำหนดผู้รับผิดชอบ และ Due date ได้
- ปฏิทินออนไลน์และการสร้างตารางนัดหมาย
- รองรับ Video Conference และแชร์ Screen ได้
- รองรับการเข้ารหัสไฟล์แบบ End-to-end Encryption
- Antivirus สำหรับไฟล์และ Ransomware Protection
- รองรับเชื่อมต่อทั้งบน Desktop และ Smartphone
Cloud Manage Server Services
บริการที่พร้อมจะดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ของคุณให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยช่วยให้คุณลดต้นทุนด้านบุคลากรกว่า 20 เท่าด้วยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญตลอด 24 ชั่วโมงมาพร้อมกับระบบ Monitoring ที่มีคุณภาพ , ระบบการจัดการ event ตามมาตรฐาน ITIL Service Management และ Report ประจำเดือน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและสามารถวางแผนปรับปรุงเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ทันท่วงที ตาม Concept Business continuity
Features
- ประหยัดกว่าดูแลเอง 20 เท่า / ค่าใช้จ่ายต่ำ
- Proactive monitoring
- 24x7x365 Support by Professtional System Engineers
- Monthly report
- ITIL service management
- Security management
- Performace optimization
ทำไมถึงต้องมีบริการ Managed Server Service
สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือการที่ระบบไอที เว็บไซต์ หรือระบบอื่นๆ ยังต้องสามารถให้บริการลูกค้าและรองรับการรันแอปพลิเคชันทั้งหมดต่อไปได้ ไม่มีปัญหาให้ธุรกิจต้องสะดุดไป แม้พนักงานจะไม่สามารถเข้ามาทำงานที่บริษัทได้เต็มที่เหมือนเคยก็ตาม บริการ Managed Server Service นี้จะช่วยให้องค์กรมั่นใจได้ว่าแผนงานด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan) ของตนจะเดินหน้าต่อไปได้ ด้วยทีมงาน System Engineer ที่มีประสบการณ์ด้านการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์มายาวนาน มาคอยช่วยดูแลการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ หรือ แอปพลิเคชันให้มีความต่อเนื่อง ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น Monitoring System ที่ทำงานภายใต้เงื่อนไข Proactive ที่ทำให้รับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นมา ด้วยระบบ ITIL Service Management ที่จะส่ง Alert , Notfication ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบ กับเซิร์ฟเวอร์ กับ Service เข้ามาให้เจ้าหน้าที่ System Engineer ของเราวิเคราะห์ เพื่อแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นตลอด 24x7x365 พร้อมด้วยระบบการสร้าง Report ที่สามารถสร้างได้ตลอดเวลาที่ต้องการ หรือเมื่อเราพบ Vulnerability ต่าง ๆ ทีม System Engineer ของเราพร้อมให้คำแนะนำ แก้ไขเพื่อให้ระบบมีความปลอดภัย อย่างมีประสิทธิภาพ
- Service Management Practices of Netway Managed Server Services
- Monitoring and Event Management
- Incident Management
- Problem Management
- Changed Enablement
- General Management Practices of Netway Managed Server Services
- Measurement and Reporting
- Risk Management
- Information security Management
- Knowledge Management
สรุป
จากหัวข้อทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ทุกระบบล้วนมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป อยู่ที่เราว่าจะสามารถยอมรับข้อเสียนั้นได้มากน้อยแค่ไหน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการปรับตัวและเร่งดำเนินการเพื่อเข้าสู่ Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบโดยเร็วที่สุด ถึงวันนี้เราอาจตอบไม่ได้ชัดเจนนักว่า ทุกองค์กรจะเข้าสู่ Digital Transformation ได้แบบเต็มตัวหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนคือหลายองค์กรเริ่มปรับตัวและมองเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีมากขึ้น เชื่อว่าทุกองค์กรจะสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเข้าสู่โลกของเทคโนโลยีและ Cloud Computing ได้ในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน สุดท้ายไม่ว่าโลกจะเกิด New Normal ขึ้นอีกกี่ครั้ง ก็อยู่ที่เราแล้วว่าจะเลือกเป็น New Normal ในแบบไหน แบบที่ยอมให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนดทิศทางอนาคตของเราหรือองค์กรของเรา หรือว่าเราจะเป็น New Normal แบบที่เป็นคนกำหนดทิศทางอนาคตของบริษัทด้วยตัวเราเอง