[TOC]
Email Markup คืออะไร
Email Markup คือส่วนขยายย่อยเพิ่มเติมมาจาก Schema.org ที่เป็นมาตรฐานในการวาง Code html เพื่อให้ Search Engine เข้าใจข้อมูลดีขึ้นเมื่อ Google เห็นว่า schema.org เป็นที่ยอมรับแล้วเลยน่าจะเสริมมาตรฐานด้าน Email เข้ามาด้วย จึงเกิดเป็น Email Markup ซึ่งตอนนี้ Gmail ให้การรองรับดังนั้น Email Markup อาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายในระบบ Mail ทั้งหมดบนโลก แต่เมื่อมีการนำร่องการใช้งานด้วย Google ผู้ให้บริการายอื่นก็น่าจะปรับตัวตาม
Email Markup ไม่จำกัดแค่ลูกค้า
การส่ง Email เรามักจะนึกถึงลูกค้า แตุ่ถ้ามองให้กว้างขึ้นเรายังสามารถนำ Email Markup มาใช้ในงานภายในได้ ที่เห็นได้ชัดเช่น
- Email ที่ส่งออกมาจากระบบต่างๆที่องค์กรใช้ จะเห็นว่าส่วนมากจะเป็นแค่การส่ง หัวข้อ กับเนื้อหาเท่านั้น
- หากนำ Email Markup มาใช้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น เกิด Action ได้เร็วขึ้น เช่น เข้าไปดู Ticket #6584 ก็สามารถไปยัง Link ได้เลย โดยไม่ต้องเปิด Email แน่นอนว่าองค์กรคุณต้องใช้ Gmail ถึงจะทำ Action แบบนี้ได้
ควรใช้ Email Markup ตอนไหนเหมาะสมที่สุด
การใช้ Email Markup มักนำมาใช้กับระบบส่ง Email อัตโนมัติ โดยการแทรก Code html เข้าไปในเนื้อหา Email ยกตัวอย่าง
- เมื่อส่ง Email แจ้งคอร์สอบรม ก็มี Action ให้ทำการ Booking ได้เลย
- เมื่อส่ง Email กำหนดชำระเงิน ก็มี Action ให้ลูกค้าเพิ่มการแจ้งเตือนเข้าปฏิทินได้ทันที
น่าเสียดายที่ผู้ให้บริการระบบ Email Marketing ในการกระจาย email ยังรองรับการทำ Email Markup ได้ไม่ดีนัก
มารู้จักกับความสามารถของ Email Markup
ความสามารถหลักๆของ Email Markup ได้แก่
- Action Link ไปยังข้อมูล
- บทความ แสดงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Email
- คำสั่งซื้อ และแสดงสถานะการจัดส่ง
- การจอง ร้านอาหาร งานกิจกรรม
ความสามารถ Actions
One Click Actions (Confirm, Save) เป็นปุ่มที่แสดงให้ผู้ใช้กดยืนยัน เมื่อยืนยันแล้วจะไม่มีปุ่มให้กดอีก RsvpAction เพื่อบอกให้ผู้ใช้รีบตอนกลับสามารถใส่ความเห็นเข้ามาได้ |
![]() |
|
Go-To Actions เป็นปุ่มที่สามารถกดได้เรื่อยๆ ไม่หายไปเหมือน One Click Actions สามารถทำเป็น link ไปหน้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ |
![]() |
ความสามารถของ Article
แทนที่ผู้ใช้จะเห็นแค่หัวข้ออีเมล แต่ด้วยความสามารถการแสดงข้อมูลเสริมประเภทบทความ อาจจะช่วยให้ผู้ใช้ลองคลิกที่เรื่องที่สนใจ เพื่อเข้าไปอ่านต่อก็เป็นไปได้
ความสามารถ Order
การแสดง Card ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อ ทั้งเรื่องของ
- สามารถกดเข้าไปดูรายละเอียการสั่งซื้อได้เลย (Order)
- แจ้งสถาณะการส่งสินค้า (Parcel Delivery)
- หรือเพิ่มปุ่มให้คลิกไปชำระเงินได้เลย (Invoice)
![]() |
![]() |
ความสามารถ Reservation
ความสามารถด้านการจอง เปลี่ยนแปลง ยกเลิกก็สามารถทำได้ทันทีผ่าน Email โดยไม่ต้องไปยังหน้าจัดการให้เสียเวลา ซึ่งจะเหมาะกับการส่งอีเมลคอร์สอบรม หรือสัมมนา มีทั้งหมวด
|
![]() |
แล้วเราจะเอา Email Markup มาใช้ทำอะไรได้
ด้วยความสามารถ 3-4 แบบที่แสดงให้เห็น แล้วธุรกิจทั่วๆไปจะเอามาทำอะไรได้บ้าง
- งานสัมมนา สามารถนำมาทำเรื่องการจองสัมมนาได้เลย
- Shopping Cart สามารถส่งไปหน้าชำระเงินหรือแจ้งสถาณะการจัดส่งสินค้าได้เลย
- งานข่าวบทความ สามารถแนะนำเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ไปพร้อมกับบทความปัจจุบัน
- งาน Helpdesk ที่แจ้งเตือนเมื่อมี Task Assign มาที่เจ้าหน้าที่ สามารถกดเข้าไปยัง Ticket
ลองเล่นกับ Email Markup
ขั้นตอนทดสอบ Email Markup ง่ายๆ
รูปแบบ Email Markup
จะใช้การส่งเนื้อหาที่เป็นในรูปแบบ html ที่เนื้อหาจะอยู่ข้างใน tag body พร้อมกับแทรก scrript ในรูปแบบของ Json-Ld |
![]() |
การแสดงผลใน Inbox ของ Gmail
หลังจากอีเมล์ภูกส่งออกมาจากระบบ มาถึง Inbox ของผู้ใช้จะถูกแสดงเป็นปุ่มให้ดำเนินการ
|
![]() |
ต้องมีการสมัครใช้บริการกับ Google
คุณสมบัติเกี่ยวกับ Email Markup ไม่ใช่ว่าจะทดสอบก็ทำได้เลย ต้องมีการสมัครเข้าใช้บริการกับ Google ก่อน เมื่อต้องการเปิดใช้ Feature นี้ต้องกรอกแบบฟอร์มขอใช้งาน พร้อมดำเนินการตามรายละเอียดในแบบฟอร์ม
https://developers.google.com/gmail/markup/registering-with-google
![]() |
... | ![]() |
สถิติที่น่าสนใจเมื่อใช้ Email Markup
การส่ง Email ที่มี Feature Email Markup ช่วยเสริมการตลาดจริงใหม
ตัวเลขที่น่าสนใจเมื่อใช้ Email Markup
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ ignitevisibility.com ได้บอกว่าการเพิ่ม Email Markup จะช่วยให้่
- การเปิด Email เพิ่มขึ้น 20%
- การคลิกต่อไปยังข้อมูลเพิ่มเติมสูงขึ้น 3%
การแสดงข้อมูลเมื่อมี Email Markup
การแสดงผลข้อมูลใน Email ร่วมกับผลการค้นหาเว็บไซต์อ้างอิง jumpseller.com
Schema.org ภาพใหญ่ของ Email Markup
มาดูมาตรฐานที่ Search Engine หลักได้ร่วมกันกำหนดขึ้นมามีอะไรบ้าง
Schema.org
เกิดจากการร่วมมือกันของ Search Engine อย่าง Google, Microsoft, Yahoo และ Yandex ในการกำหนดโครงสร้างข้อมูลขนาดเล็กหรือที่เรียกว่าว่า MicroData Schema
จุเประสงค์หลักคือให้ Search Engine เข้าใจข้อมูลในหน้าเว็บเพจ หรือในอีเมลได้ถูกต้องมากขึ้นโดย Schema ที่ถูกกำหนดมาที่เข้าใจได้ง่ายได้แก่
- หนังสือ ที่เราสามารถระบุชื่อ ผู้แต่ง หมายเลข ISBN
- ภาพยนต์ ที่เราสามารถระบุว่าเป็นประเภท Action ความยาว 1 ชั่วโมง 40 นาที
- สินค้า ที่สามารถระบุภาพ ราคา แบรนด์
- สถานที่ ที่สามารถระบุ ที่อยู่ ตำแหน่งที่ตั้ง
Schema.org ช่วยให้ผลการค้นหาน่าสนใจ
ไม่ใช่แค่ให้ Search Engine แต่ยังช่วยให้ Search Engine แสดงผลการค้นหาเว็บไซต์ของเรา ได้น่าสนใจมากขึ้น มีการรวบรวมตัวอย่างผลการค้นหาที่นำ Schema.org มาใช้อ้างอิง ondyr.com
Schema.org Article
สามารถแสดงบทความที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับเว็บที่มีเนื้อหาเชิงข่าว
Schema.org Breadcrumb
แสดงเป็นลักษณะเมนู ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ถูกต้องมากชึ้น เช่นจะดูวิธีการแก้ปัญหา หรือจะสั่งซื้อ กรณีที่ Title ใช้ชื่อซ้ำกัน
Schema.org Corporate Contact
แสดงข้อมูลองค์กรด้านขวามือ ทำให้ดูน่าชื่อถือ
Schema.org Sitelinks searchbox
ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลเฉพาะในเว็บไซต์เราได้เลย
Schema.org Social Profile
บางครั้งผู้ใช้ต้องการจะเข้าไปดูข้อมูลของเราจากทาง Social ก่อน
Schema.org Video
ถ้าเรามีช่อง Youtube และบทความเรามี video google มักจะแสดงวิดีโอก่อน
_____________________________________________________________________________________________
Netway Communication ให้บริการด้าน Cloud และ IT พื้นฐานสำหรับธุรกิจ เป็นตัวแทนแบรนด์ไอทีชั้นนำมากมาย เรามีเจ้าหน้าที่พร้อมดูแลคุณ 24 ชม. ติดต่อเราเพื่อสอบถามผลิตภัณฑ์ ขอราคา หรือปรึกษาเรื่องไอที ได้เลยค่ะ
Line : @netway (มี @ ด้านหน้า) หรือ http://bit.ly/line-netway
Facebook : m.me/netway.offcial
Tel : 02-9122558
Email : support@netway.co.th
Web Chat : https://netway.co.th/
#ให้เราช่วยคุณเรื่องไอที #การสื่อสาร Netway #มีครบจบที่เดียว #Office365 #Microsoft #Netway Communication #VPS #Shared Hosting